ประเภทของไฟฟ้า
ไฟฟ้ามีแหล่งกำเนิดทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและมนุษย์ประดิษฐ์ขึ้น ในเรื่องที่ 3 ประกอบด้วย 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ประเภทของไฟฟ้า แบ่งประเภทของไฟฟ้าเป็น 2 ประเภท คือ
1. ไฟฟ้าสถิต
ไฟฟ้าสถิต คือ ปริมาณประจุไฟฟ้าบวกและลบที่ค้างอยู่บนพื้นผิววัสดุไม่เท่ากันและ
ไม่สามารถที่จะไหลหรือถ่ายเทไปที่อื่น ๆ ได้ เนื่องจากวัสดุนั้นเป็นฉนวนหรือเป็นวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า
จะแสดงปรากฏการณ์ในรูปการดึงดูด การผลักกันหรือเกิดประกายไฟ ซึ่งปรากฏการณ์การเกิด
ไฟฟ้าสถิตในธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น
2. ไฟฟ้ากระแส
ไฟฟ้ากระแส คือ การไหลของอิเล็กตรอนภายในตัวนำไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง
เช่น ไหลจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าไปสู่แหล่งที่ต้องการใช้กระแสไฟฟ้า ซึ่งก่อให้เกิดแสงสว่าง
เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านลวดความต้านทานสูงจะก่อให้เกิดความร้อน เราใช้หลักการเกิดความ
ร้อน มาประดิษฐ์อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น เตาหุงต้ม เตารีดไฟฟ้า เป็นต้น ไฟฟ้ากระแส แบ่งออกเป็น 2
ชนิด คือ
2.1 ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current หรือ DC) ไฟฟ้ากระแสตรงเป็นไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลไปทางเดียวตลอดระยะเวลาที่วงจรไฟฟ้าปิด กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าจะไหลจากขั้วบวกภายในแหล่งกำเนิดผ่านตัวต้านทานหรือโหลดผ่าน ตัวนำไฟฟ้าแล้วย้อนกลับเข้าแหล่งกำเนิดที่ขั้วลบเป็นทางเดียวเช่นนี้ตลอดเวลา เช่น ถ่านไฟฉาย ไดนาโม เป็นต้น
2.2 ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current หรือ AC)ไฟฟ้ากระแสสลับเป็นไฟฟ้าที่มีการไหลกลับไปกลับมา ทั้งขนาดของกระแสและแรงดันไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ คือ กระแสจะไหลไปทางหนึ่งก่อน ต่อมาก็จะไหลสวนกลับแล้วก็เริ่มไหลเหมือนครั้งแรก การที่กระแสไฟฟ้าไหลไปตามลูกศรเส้นทึบด้านบนครั้งหนึ่งและไหลไปตามลูกศรเส้นประด้านล่างอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า 1 รอบความถี่ หมายถึง จำนวนลูกคลื่นไฟฟ้ากระแสสลับที่เปลี่ยนแปลงใน 1 วินาทีไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้ในประเทศไทยมีความถี่ 50 เฮิรตซ์ ซึ่งหมายถึง จำนวนลูกคลื่นไฟฟ้าสลับที่เปลี่ยนแปลง 50 รอบ ในเวลา 1 วินาที
ตอนที่ 2 การกำเนิดของไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าในโลกนี้มีหลายอย่าง ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เป็นต้น
และมนุษย์ได้ค้นพบการกำเนิดไฟฟ้าที่สำคัญ มีดังนี้
1. ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีของวัตถุ เป็นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการนำวัตถุต่างกัน 2 ชนิดมาขัดสีกัน เช่น แผ่นพลาสติกกับผ้า หวีกับผม เป็นต้น
2. ไฟฟ้าที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี โดยการนำโลหะ 2 ชนิดที่แตกต่างกันตัวอย่าง สังกะสีกับทองแดงจุ่มลงในสารละลาย โลหะทั้งสองจะทำปฏิกิริยาเคมีกับสารละลายทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า เช่น แบตเตอรี่ ถ่านอัลคาไลน์ (ถ่านไฟฉาย) เป็นต้น
3. ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดยเราสามารถสร้างเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิดใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เช่น นาฬิกาข้อมือ เครื่องคิดเลข เป็นต้น
4. ไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าที่ได้มาจากพลังงานแม่เหล็กโดยวิธีการใช้ลวดตัวนำไฟฟ้าตัดผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการนำสนามแม่เหล็กวิ่งตัดผ่านลวดตัวนำอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งสองวิธีนี้จะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลในลวดตัวนำนั้น กระแสที่ผลิตได้มีทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ
วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559
เรื่องที่ 2 ประวัติความเป็นมาของไฟฟ้าในประเทศไทย
การใช้ไฟฟ้าของประเทศไทยถือว่ามีประวัติความเป็นมายาวนาน โดยได้เริ่มนำไฟฟ้ามาใช้หลังประเทศอังกฤษเพียง 2 ปี ทั้งนี้ไฟฟ้าเริ่มเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2427 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5)โดยจอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี(เจิม แสงชูโต) ซึ่งขณะนั้นยังมีบรรดาศักดิ์เป็น “จะมื่น ไวยวรนารถ” ได้ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากประเทศอังกฤษ จำนวน 2 เครื่อง นำมาใช้ในงานวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยจ่ายกระแสไฟฟ้าที่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยและได้มีการพัฒนาต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละช่วงเวลาได้มีการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารับผิดชอบด้านไฟฟ้า ดังนี้
ปี 2440
|
จัดตั้ง “บริษัทบางกอกอิเล็กตริกไลท์
ซินดิเคท” หรือ “โรงไฟฟ้าวัดเลียบ ”
|
ปี 2455
|
จัดตั้ง
“โรงไฟฟ้าสามเสน”ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น“กองไฟฟ้าหลวงสามเสน”
ทำให้กิจการไฟฟ้าเริ่ม
เป็นปึกแผ่น
|
ปี 2493
|
จัดตั้ง“การไฟฟ้ากรุงเทพฯ”
|
ปี 2494
|
จัดตั้ง
“คณะกรรมการพิจารณาสร้างโรงไฟฟ้าทั่วราชอาณาจักร”ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น
“สำนักงานพลังงานแห่งชาติ”
|
ปี 2497
|
จัดตั้ง “องค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์” และ“องค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค”
|
ปี 2550
|
จัดตั้ง“การไฟฟ้ายันฮี (กฟย.)”
|
ปี 2551
|
จัดตั้ง“การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)”
|
ปี 2505
|
จัดตั้ง“การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ(กฟ.อน.)”
|
ปี 2512
|
จัดตั้ง
“การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย”
|
เรื่องที่ 1 ความหมายและความสำคัญของไฟฟ้า
เรื่องที่ 1 ความหมายและความสำคัญของไฟฟ้า
ไฟฟ้าเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน และเป็นตัวแปรสำคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ การเพิ่มผลผลิตทั้งเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมที่ทันสมัย การกระจายรายได้และสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านการผลิต และการขายสินค้า ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ ในเรื่องที่ 1 ประกอบด้วย 2 ตอน คือ
ตอนที่ 1 ความหมาย และความสำคัญของไฟฟ้า
ตอนที่ 2 ประโยชน์และผลกระทบของพลังงานไฟฟ้า
ตอนที่ 1 ความหมาย และความสำคัญของไฟฟ้า
ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมาย ของคำว่า “ไฟฟ้า” ไว้ว่า “พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอน หรือโปรตอน หรืออนุภาคอื่นที่มีสมบัติแสดงอำนาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่ เป็นต้น”
ภาพการไหลของอิเล็กตรอนในวงจรไฟฟ้า
ไฟฟ้าเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากจะให้
แสงสว่างเวลาค่ำคืนแล้ว ยังทำให้เกิดความร้อนเพื่อใช้ในการหุงต้ม รีดผ้า ทำให้เกิดการหมุนของ
มอเตอร์ เช่น เครื่องดูดฝุ่น เครื่องปั่นน้ำผลไม้ เครื่องทำความเย็น เป็นต้น ไฟฟ้าจึงมีความสำคัญ
และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)